กฤษฎีกาการเดินเรือ ค.ศ. 1651 ของ พระราชบัญญัติการเดินเรือ

รัฐสภาเครือจักรภพอังกฤษ นำโดยโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ได้ผ่านร่างพระราชกฤษฎีกาการเดินเรือในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1651 อันเป็นการเสริมหลักการนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้การค้ากับอังกฤษควรที่จะดำเนินการโดยเรือสัญชาติอังกฤษเท่านั้นซึ่งมีมาช้านาน กฎหมายนี้เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อความล้มเหลวของคณะทูตอังกฤษ ณ เฮก ซึ่งไม่สามารถชักชวนให้สาธารณรัฐดัตช์เข้าร่วมในเครือจักรภพได้ หลังจากรัฐฮอลแลนด์ได้การทาบทามไปถึงคอร์นเวลล์เพื่อตอบโต้ความปรารถนาอยากเป็นพระมหากษัตริย์ของเจ้าเมือง วิลเลียมที่ 2 เจ้าชายแห่งออเรนจ์ อย่างไรก็ตาม เจ้าเมืองดังกล่าวได้สิ้นพระชนม์โดยเฉียบพลัน และคอร์นเวลล์อึกอักกับรัฐฮอลแลนด์ที่ได้ยึดความคิดดังกล่าวอย่างจริงจังเกินไป อังกฤษได้เสนอให้ครอบครองดินแดนของสเปนและโปรตุเกสร่วมกัน อังกฤษจะได้ทวีปอเมริกา และดัตช์จะได้แอฟริกาและเอเชีย อย่างไรก็ตาม ดัตช์เพิ่งจะเสร็จสิ้นสงครามกับสเปนและได้รับดินแดนอาณานิคมโปรตุเกสส่วนมากในทวีปเอเชียได้แล้ว ดัตช์จึงเห็นประโยชน์น้อยมากจากแผนการอันยิ่งใหญ่นี้ และได้เสนอข้อตกลงการค้าเสรีเป็นทางเลือกสำหรับการรวมตัวทางการเมืองเต็มรูปแบบ แต่แนวคิดนี้ไม่อาจยอมรับได้สำหรับอังกฤษ ผู้ซึ่งไม่สามารถที่จะแข่งขันในเวทีระดับนั้นได้ และถูกมองว่าเป็นการสบประมาทโดยเจตนา

พระราชบัญญัติดังกล่าวได้สั่งห้ามเรือต่างด้าวจากการขนส่งสินค้าจากทวีปยุโรปเข้ามายังอังกฤษหรืออาณานิคมของอังกฤษ และสั่งห้ามเรือประเทศที่สามในการขนส่งสินค้าจากที่ใดก็ตามในทวีปยุโรปเข้ามาในอังกฤษ กฎดังกล่าวได้มุ่งเป้าหลักไปยังดัตช์ผู้ซึ่งครอบครองสัดส่วนการค้าระหว่างประเทศของยุโรปและการขนส่งชายฝั่งของอังกฤษจำนวนมาก กฎหมายดังกล่าวทำให้ดัตช์ไม่อาจทำการค้าใด ๆ กับอังกฤษได้ และเนื่องจากเศรษฐกิจของดัตช์เป็นแบบแข่งขัน ไมพึ่งพากับอังกฤษ ดังนั้น ทั้งสองประเทศจึงมีการแลกเปลี่ยนวัตถุซื้อขายกันน้อยมาก อย่างไรก็ตาม การค้าอังกฤษ-ดัตช์เป็นเพียงส่วนน้อยของการค้าของดัตช์ทั้งหมด พระราชบัญญัติดังกล่าวได้รับการกล่าวถึงบ่อยครั้งว่าเป็นสาเหตุหลักของสงครามอังกฤษ-ดัตช์ครั้งที่หนึ่ง ถึงแม้ว่ามันจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งในนโยบายอันยิ่งใหญ่กว่าของอังกฤษที่จะเข้าร่วมในสงครามหลังจากการเจรจาประสบความล้มเหลว ชัยชนะทางทะเลของอังกฤษในปี ค.ศ. 1653 ได้แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของกองทัพเรือเครือจักรภพในน่านน้ำประเทศตน อย่างไรก็ตาม ในการรบที่อยู่นอกเหนือจากนั้น ฝ่ายดัตช์กลับมีอำนาจเหนือกว่า และสามารถที่จะปิดการค้าของอังกฤษในทะเลบอลติกและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทั้งสองประเทศต่างก็กดดันอีกฝ่ายหนึ่ง[1]

สนธิสัญญาเวสต์มินสเตอร์ได้ยุติภาวะจนตรอกนี้ ฝ่ายดัตช์ยอมรับพระราชบัญญัติเดินเรือในช่วงสันติภาพนี้ แต่ก็ส่งผลน้อยมากต่อการค้าของดัตช์ สำหรับอังกฤษแล้ว พระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นเพียงสิ่งปลอบใจอันจำกัด มันไม่สามารถจำกัดความเสื่อมของฐานะการค้าโพ้นทะเลของอังกฤษ ยกเว้นแต่ในกรณีที่อังกฤษเป็นประเทศผู้บริโภคหลักเท่านั้น เช่นเดียวกับการค้าไวน์ของหมู่เกาะคะเนรี และน้ำมันมะกอกในพักเลียน ในการค้ากับอินเดียตะวันตก ดัตช์ยังรักษาการค้า "ลักลอบน้ำเข้า" ที่เฟื่องฟู เนื่องมาจากการโอนเอียงไปนิยมสินค้านำเข้าของดัตช์ของคนทำสวนยางชาวอังกฤษและข้อเสนอที่ดีกว่าของดัตช์ในการค้าน้ำตาล อาณานิคมดัตช์ นิวเนเธอร์แลนด์ ได้เสนอช่องโหว่ (ผ่านทางการค้าระหว่างอาณานิคม) ซึ่งกว้างมากพอที่จะอนุญาตให้ยาสูบเวอร์จิเนียเต็มลำเรือสามารถผ่านได้[2]

ใกล้เคียง

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท) พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวังต้องห้าม พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชวังสนามจันทร์